เมนู

เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มี
ศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระสุคตอย่างครบถ้วน
ฉะนั้น บัณฑิต จึงขนานพระนามพระองค์
ว่า ภควา.


2. ทรงอบรมพุทธกรธรรม


พระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง
อบรมพุทธกรธรรมเป็นอย่างไร คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็น-
พระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี 10 ได้แก่ ทานบารมี
ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อุปบารมี 10 และปรมัตถบารมี 10
รวมเป็นบารมี 30 ถ้วน สังคหวัตถุ 4 มีทานเป็นต้น อธิษฐานธรรม 4
มหาบริจาค 5 คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคนัยนา (ดวงตา) การบริจาค
ทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยา
การกล่าวธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์
แก่พระญาติ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหา-
สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวล
ผู้ประมวลธรรม 8 ประการ มีความเป็นมนุษย์เป็นต้นไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว
กระทำมหาภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์
หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา)
พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่าง
ครบถ้วนไม่ขาดสาย สิ้นเวลา 4 อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหา-
ภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธที่ปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิ

ได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงัก
โดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อ-
ควรขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวาย พระนามว่า ภควา เพราะ
แปลงอักษร ต ให้เป็นอักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกร-
ธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะ
หมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระโลกนาถ ทรงอบรม
สัมภารธรรมทั้งหมด มีทานบารมีเป็นต้น
เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึง
ถวายพระนามว่า ภควา.


3. ทรงเสพภาคธรรม


พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ
ภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวันนับได้จำนวนสองหมื่น
สี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงส้องเสพ ได้แก่
ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่งสมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันของ
พระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า
ทรงเสพภาคธรรม. อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศล
เป็นต้น และมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจเป็น